ประชุมหารือเพื่อพิจารณาการจัดทำข้อมูลสถานภาพระบบนิเวศทางทะเลของการทำประมงปูม้าตามมาตรฐานประมงยั่งยืนสากล

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:30 -12.00 น. ณ ห้องประชุมปากเปี่ยน กรมประมง


สมาคมฯ โดยคุณตรีรัตน์ เชาวน์ทวี ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการกลุ่มผลิตภัณฑ์ปู และนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายการบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อพิจารณาการจัดทำข้อมูลสถานภาพระบบนิเวศทางทะเลของการทำประมงปูม้าตามมาตรฐานประมงยั่งยืนสากล ร่วมกับกรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อพิจารณาการจัดทำข้อมูลสถานภาพระบบนิเวศทางทะเลของการทำประมงปูม้าตามมาตราประมงยั่งยืนสากล โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้


สมาคมฯ ได้ชี้แจงความคืบหน้าผลการประเมินตามดัชนีตัวชี้วัดจาก Fisheryprogress.org รวมถึงตัวชี้วัดที่ยังคงอยู่ระหว่างการติดตามรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำเตรียมจัดทำรายงานความก้าวหน้าต่อผู้ประเมิน รวมถึงให้ข้อมูลความสำคัญและความจำเป็นของการบริหารจัดการระบบนิเวศที่มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินการทำประมงปูม้าตามมาตรฐานประมงยั่งยืนสากล 


การประชุมหารือในครั้งนี้ได้หารือในตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับ Ecosystem Structure และ Ecosystem management สมาคมฯได้แจ้งที่ประชุมทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานกรมประมงและ ทช. ที่ได้จัดทำรายงานนำส่งให้กับผู้ประเมินเรียบร้อยแล้ว และยังคงขาดข้อมูลเรื่องมาตรการที่ใช้ในการควบคุม ฟื้นฟู และการติดตาม แหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเลกลุ่ม ETP species ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่หลังจากได้มีมาตรการหรือมีการนำไปปรับใช้แล้วให้ผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด 


ที่ประชุมรับทราบผลการประเมินตามดัชนีตัวชี้วัด ในส่วนของมาตรการบริหารจัดการระบบนิเวศ โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ทะเล ETP species แหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเล กรมประมงให้ข้อคิดเห็นว่าบางชนิดอาจยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เนื่องมาจาก ETP species บางชนิดค่อนข้างยากต่อการควบคุมติดตาม อาทิ ม้าน้ำ


เบื้องต้นกรมประมงมีกิจกรรมการสำรวจรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนชาวประมง เพื่อเก็บข้อมูลมาจัดทำแผ่นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของ ETP species และจัดทำแนวปฏิบัติฯ ให้ชาวประมงและสัตว์ทะเลกลุ่ม ETP species สามารถอยู่ร่วมกันได้ ในส่วนการประกาศใช้มาตรการต่างๆ คิดเห็นว่าจะต้องเข้าสู่กระบวนการเสนอต่อประมงจังหวัดเพื่อพิจารณา


กรมประมงเสนอให้แนวทางการจัดกิจกรรมรับฟังความเห็นจากชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ ซึ่งกรมประมงมีพื้นที่เป้าหมายเดิมที่ได้เก็บข้อมูลอยู่คือบริเวณอ่าวบ้านดอน ภายใต้โครงการ “ลดผลกระทบจากเครื่องมือประมงต่อสัตว์ทะเลหายาก” ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับสัตว์ทะเลกลุ่ม ETP species ทั้งนี้สมาคมฯ ได้ขอให้ฝ่ายเลขานำส่งข้อมูลผลการจัดทำโครงการฯดังกล่าวมาเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้ากับผู้ประเมินในเบื้องต้น 


สำหรับการเปรียบเทียบสถานภาพสัตว์น้ำย้อนหลัง 5-10 ปี โดยเฉพาะแผนการฟื้นฟูสัตว์ทะเล สมาคมฯ ขอให้หน่วยงาน ทช. ยืนยันแผนฟื้นฟูที่ยังคงใช้รูปแบบเดิมต่อไป และสัตว์ทะเลกลุ่ม เต่าทะเล โลมา พะยูน กรณีไม่แผนฟื้นฟูในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ หรือสัตว์ทะเลชนิดนั้นอาศัยอยู่เฉพาะบางพื้นที่ ทาง ทช. สามารถส่งข้อมูลการฟื้นฟู ติดตามของพื้นที่อื่นๆมาให้สมาคมฯพิจารณาได้เช่นกัน นอกจากนี้แหล่งหญ้าทะเล การขยายป่าชายเลน สมาคมฯ ได้ขอการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  การขอขยายพื้นที่ปลูก รวมถึงขั้นตอนการเก็บข้อมูล โดยผู้แทนจากกรมทรัพยากรฯ (ทช.) แจ้งให้ฝ่ายเลขากรมประมงสามารถประสานขอข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ทช. ผู้รับผิดชอบได้


ทั้งนี้สมาคมฯ ได้แจ้งกำหนดการส่งรายงานต่อผู้ประเมินภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ และขอให้กรมประมงช่วยส่งข้อมูลภายในสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยฝ่ายเลขากรมประมงรับไปประสานขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ทช. และนำแจ้งข้อมูลให้กับสมาคมฯ เพื่อเตรียมจัดทำรายงานความก้าวหน้าต่อผู้ประเมินต่อไป



Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association