06/09/65 ประชุม Fa i r Seas ภายใต้โครงการ Ship To Shore Rights

ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมฯ , คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุม Fa i r Seas ภายใต้โครงการ Ship To Shore Rights จัดโดย ILO
ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 6 -7 กันยายน 2565 ณ โรงแรม Jimbaran Nusa Dua บาหลี ประเทศอินโดนิเซีย และผ่านทางออนไลน์ สรุปสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ของการประชุมแรงงาน Fair Seas มีดังนี้: 

1. เพื่อฟื้นฟู SEA Forum for Fishers ให้เป็นเวทีประสานงานระดับภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาdecent work สำหรับคนงานในด้านประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอาหารทะเล

2. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเพื่อการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนงานทุกคนในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเล โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ แรงงานสตรี และแรงงานนอกระบบ

3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับผู้ที่มาจากนอกภูมิภาคในการสนับสนุนการดำเนินการร่วมกันเพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันและส่งเสริมการรวมตัวทางสังคมผ่านการทำงานที่มีคุณค่า (decent work) ในภาคการประมงและอาหารทะเล

สาระสำคัญ

(1)โครงการ Sea forum for fishers มีจุดเริ่มต้นจาก การที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรวมตัวกัน เพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการแรงงานทาส ในภาคการประมงและอาหารทะเล โดยปัญที่เกิดขึ้น พบว่า แรงงานขาดเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วมกัน หรือ ขาดการส่งเสริมในด้านสิทธิของแรงงานสตรี และ ควรเน้นไปที่การแก้ปัญหาแรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ รวมถึงกลไกการร้องเรียน และ การคุ้มครองทางสังคม
ผู้แทนไทยที่เข้าร่วม

คุณอัญมณี จาก ILO กล่าวว่าปัญหาด้านแรงงานที่พบ เช่น ปัญหาขาดแคลนแรงงาน, แรงงานไม่ได้รับสิทธิและการปกป้องทางสังคม, แรงงานมีรายได้ลดลง ไม่ได้รับความสำคัญในด้านสุขภาพ และไม่มีนโยบายโดยตรงของแรงงานข้ามชาติ ข้อคำแนะนำ เช่น ควรให้มีสัตยาบันร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างในการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งควรเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในภาคการประมง เพื่อง่ายต่อการติดตามและแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และเริ่มในเรื่องนโยบายการรับมือและฟื้นฟู แรงงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

คุณสุธาสินี จาก MWRN กล่าวถึง ปัญหาจากสถานการณ์โควิดที่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน เช่น แรงงานบนเรือประมง เมื่อออกไปจากฝั่งแล้วจะไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก ส่งผลให้ครอบครัวของแรงงานได้รับผลกระทบจากไม่มีรายได้ และ ปัญหาจาก Lockdown ในตลาดจังหวัดสมุทรสาคร ทำให้แรงงานไม่สามารถทำงานได้ และขาดรายได้ ทั้งไม่ได้รับสวัสดิการที่ควรได้รับตามสมควร เช่น การเข้าถึงเตียงในโรงพยาบาล วัคซีน การช่วยเหลือจากทางภาครัฐ และพบบางโรงงาน ไม่มีการจ่ายเงินให้กับแรงงานเนื่องจากแรงงานติดโควิด-19 โดยทาง MWRN ได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานในช่วงนั้นเช่น ชุดยังชีพ อาหารแห้ง โดยสรุปแรงงานข้ามชาติ ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้รับความเท่าเทียม ขาดการการเจรจาต่อรอง และการช่วยเหลือจากภาครัฐ

กระทรวงแรงงาน โดยคุณธวัช ไชยเดช จากสถานการณ์โควิดระบาดในไทย ได้มีการทำงานเชิงรุกตรวจโรงงาน และเชิงรับ รับข้อร้องเรียนจากแรงงาน มีการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายโดยใช้หลักของพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กำหนดสิทธิขั้นต่ำ และแรงงานภาคประมง มีเครื่องมือคือ พรบ.คุ้มครองแรงงานประมง ปี 62 กฎหมายแรงงานประมงปี 57 มีกฎกระทรวงให้เด็กอายุไม่ถึง 16 ปี ฝึกงานบนเรือได้แต่ต้องได้รับอนุญาต

สัญญาจ้างและเอกสารจ่ายค่าจ้าง นายจ้างต้องทำสัญญาจ้างภาษาแรงงาน เอกสารจ่ายเงินต้องจัดทำเป็นภาษาที่แรงงานเข้าใจได้ การโอนเงินต้องจ่ายค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคาร โดยมีพนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบเอกสาร และสัมภาษณ์

ใช้ตัวชี้วัด ILO ในการสัมภาษณ์ มีการจัดประชุมออนไลน์ให้ความรู้ภาคประมง ใช้สหวิชาชีพ กรมประมง การเข้าถึงสิทธิของแรงงาน ทั้งแรงงานไทยและต่างด้าว สถานประกอบการ 50 คน จะมี คณะกรรมการสวัสดิการ ทำหน้าที่รับข้อร้องเรียน แก้ปัญหาแรงงานเข้าไม่ถึงสิทธิ

คุณอรรถพันธ์ TTIA ได้นำเสนอว่า เราได้ทำงานกับ กระทรวงสาธารณสุข และกรมประมง และมีการให้ความรู้สมาชิกในการจัดการโควิด

สมาคมมีการนำ GLP ไปใช้ตั้งแต่ 2013 โดย ILO สนับสนุนการร่วมกันจัดทำคู่มือ GLP อาหารทะเลที่สามารถทำไปใช้ปฏิบัติตามได้ ส่งเสริมคณะกรรมการสวัสดิการในกระบวนการรับข้อร้องเรียนจากแรงงานไปยังนายจ้าง มีการพัฒนาจากแรงงานข้ามชาติไม่มีเข้าร่วม คกส จนปัจจุบันมีสัดส่วนไทยกับข้ามชาติที่เหมาะสมผ่านการเลือกตั้ง และเริ่มส่งเสริมการนำ GLP นำไปใช้กับ suppliers และในอนาคตอาจนำ GLP ไปใช้ supply chain ได้ทั้งหมด

กิจกรรม workshop แบ่งประชุม 4 กลุ่มย่อยในเรื่อง

การตรวจสอบสภาพการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

บนเรือและชายฝั่ง

มีการเสนอ การนำ C188 มาปฏิบัติใช้ และอนาคต P29 มาใช้โดยทำ MOUระหว่างรัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อติดตามด้านแรงงาน และการพัฒนา คู่มือ เป็นกลไกขึ้นออนไลน์

การสรรหาแรงงานประมงและแปรรูปอาหารทะเล
มีการเสนอกำหนดนโยบายการจัดหางานใช้ MOU เป็นหลัก มีการเรียนรู้หลักการสากล และหากลไกป้องกันแรงงานประมง /ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างประเทศต้นทาง กับประเทศปลายทาง/ มีบทลงโทษการละเมิดสัญญาที่ชัดเจน / มีกลไกจัดการประนีประนอมและการชดเชยทางแพ่ง

หลักการพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน

มีการเสนอ หาช่องว่างหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ 87/98 และกระตุ้นให้รัฐ รับสัตยาบัน / NGOS ควรมีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัย และสุขภาพสำหรับคนงาน ความเท่าเทียมทางเพศ และการคุ้มครองสตรี / หาแนวทางคุ้มครองเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ

การเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับคนงาน

-การสร้าง Network นักกฎหมายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ / สร้างเครือข่าย สหภาพและ NGOs ช่วยแรงงาน / จัดให้มีที่ปรึกษาเรื่องเจรจาต่อรอง

คุณเบน ฮารกิ้น จาก ILO สรุปสิ่งที่ต้องทำต่อ เช่น จะนำความเห็นไปปฏิบัติและบังคับใช้อย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร เช่น บนเรือประมง สภาพแวดล้อมที่จำกัด / การสรรหาแรงงานที่ค่าใช้จ่ายถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ซับซ้อน และต้องปกป้องสิทธิแรงงานมากขึ้น ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย / การส่งเสริม 87/98 จำเป็นต่อการปฏิบัติแต่ละประเทศโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติจะได้มีอำนาจต่อรองเพื่อให้มีค่าแรงที่เหมาะสม /สร้างความรับผิดชอบของนายจ้างในsupply chain /สร้างการเยียวยา ป้องกันการล่วงละเมิด ทำให้แรงงานข้ามชาติได้รับค่าตอบแทนมากขึ้น



Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association