9 มกราคม 2566 ประชุมหารือการจัดทำร่าง Research Proposal ปีที่ 3

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ทางระบบการประชุมออนไลน์ VRoom

สมาคมฯ โดยนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการเข้าร่วมการประชุมหารือการจัดทำร่างข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal) ปีที่ 3 ที่จะเสนอต่อสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ร่วมกับคณะนักวิจัยภายใต้โครงการ และคณะที่ปรึกษา โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

🟢 เรื่องเพื่อทราบ : Update ความคืบหน้าโครงการ FIP Gulf of Thailand Trawl Fishery Improvement Plan

1. สถานะปัจจุบันโครงการกับ MarinTrust (IP Program) : MarinTrust ได้แจ้งสถานะให้ โครงการวิจัยอวนลากอ่าวไทยอยู่ใน IP program ต่อไป

2. สถานะล่าสุด Fishery Action Plan (FAP) : ได้นำส่งรายงาน FAP ที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบจาก 8 สมาคม และกรมประมง ให้กับ MarinTrust พิจารณาเรียบร้อยแล้ว

3. การนำเสนอ 6 month update กิจกรรม FAP แก่ MarinTrust : คณะทำงานฯ ได้นำส่งรายงานความก้าวหน้าที่ได้ดำเนินกิจกรรมรอบ 6 เดือน ให้กับผู้ประเมินมาตรฐาน MarinTrust ดังนี้

3.1 รายงานกิจกรรมที่ดำเนินการโดย TSFR ได้แก่ การประชุมติดตาม และการประชาสัมพันธ์โครงการฯ

3.2 รายงานผลการศึกษาวิจัยของโครงการวิจัยย่อย 2.1 2.2 และ 2.3



🟢 การจัดทำร่าง Proposal ปี 3

วัตถุประสงค์และกิจกรรมการดำเนินงานส่วนกลาง โดยในปีที่ 3 ได้เพิ่มวัตถุประสงค์ เป็น

1. เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยภายใต้โครงการ แนวทางการพัฒนาการประมงอวนลากในอ่าวไทยสู่ความยั่งยืนตามแนวปฏิบัติมาตรฐานสากลปีที่ 1 และปีที่ 2 และจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการประมงอวนลากอ่าวไทย (Fishery Action Plan, FAP)

2.เพื่อนำผลการวิจัยและภาพรวมของโครงการฯไปใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์รวมถึงตีพิมพ์ลงในวารสารด้านการประมงที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างการยอมรับในระดับสากลทางด้านความยั่งยืนการประมงโดยการสร้างการมีส่วนร่วม และสื่อสารผลงานวิจัยไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและต่างประเทศอย่างเหมาะสม

🟢 แผนการดำเนินงานส่วนกลาง ในปีที่ 3 ประกอบด้วย

1. ประชุมติดตามความคืบหน้า FAP กับคณะวิจัยและหน่วยงานภาครัฐ

2. ประชุมกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย

3. ประชุมร่วมกับผู้ประเมิน MT และหน่วยงานภายนอก

4. เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเพื่อสื่อสารโครงการทั้งในและต่างประเทศ

🟢 การเตรียมนำเสนอร่าง Proposal โครงการวิจัยย่อย 3 โครงการย่อย (ทีมวิจัย)

🌲โครงการย่อย 2.1: นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยในปีที่ 1-2 มาวิเคราะห์/สังเคราะห์ เพื่อได้ข้อมูลในเชิงข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการบริหารจัดการการทำประมงอวนลากในอ่าวไทย และเติมช่องว่างการประเมินใน criteria ของ Ecosystem เกี่ยวกับระบบนิเวศ และการถ่ายทอดพลังงาน และผลกระทบต่อการทำประมงอวนลากส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างไรได้บางส่วน ซึ่งจะทำให้ได้คะแนนในระดับที่ดีขึ้น

โดยคาดว่าใช้เวลาศึกษาวิจัยประมาณ 1 ปี ผลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวจะสามารถเสนอเป็นแนวทางบริหารจัดการให้กับกรมประมงได้ต่อไป

🌲โครงการย่อย 2.2 และ 2.3:

ใช้วิธีการศึกษาวิจัยรูปแบบเดียวกับการศึกษาในปีที่ 1-2 แต่เปลี่ยนขอบเขตสถานที่เก็บข้อมูลเป็นบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่ รูปแบบการทำประมง และผลกระทบจากการทำประมงอวนลาก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้

🚢 การเพิ่มการยอมรับในแผนปฏิบัติการประมงอวนลาก จากชาวประมงอวนลาก:

1. การนำเสนอแผนปฏิบัติการฯ ควรมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชาวประมงอวนลาก รับรู้ รับทราบทุกครั้งและครอบคลุมพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ประมงแห่งประเทศไทย เพื่อรับฟังให้ข้อคิดเห็น

2. เพื่อให้แผนปฏิบัติการฯ ได้รับการยอมรับจากชาวประมงอวนลาก ควรเตรียมรูปแบบการนำเสนอ คือ นำเสนอต่อนายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้พิจารณาก่อน โดยเริ่มจากนำเสนอข้อมูลผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจากทั้ง 3 คกย. ซึ่งเป็นข้อมูลทางวิชาการฯ มีเหตุและผล เพราะควรจะได้รับการยอมรับ เห็นชอบในหลักการทางวิทยาศาสตร์ จากตัวแทนชาวประมงอวนลากก่อน และจึงจะนำเสนอข้อมูลในเชิงนโยบายและแผนการบริหารจัดการฯ ในภายหลัง

กิจกรรมข้างต้นดำเนินการโดยภาคเอกชน 8 สมาคมเป็นหลัก โดยมีนักวิจัยร่วมชี้แจง นำเสนอข้อมูล ให้กับชาวประมงอวนลาก

🟢 งบประมาณของโครงการวิจัยย่อยที่จะเสนอต่อ สวก. ปีที่ 3 ดังนี้

คกย. 2.1 ประมาณ 1.5 - 2 ล้านบาท

คกย. 2.2 ประมาณ 4 - 4.3 ล้านบาท

คกย. 2.3 ประมาณ 4 - 4.1 ล้านบาท



Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association