คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ และคุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567 โดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน โดยสรุป ดังนี้
• ความก้าวหน้าในการใช้กลไกการตกลงราคาระหว่างกลุ่มชาวประมงกับสมาคมผู้รับซื้อ
- กลุ่มปลาหน้าดิน สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยคณะอนุกรรมการซูริมิ ได้มีการตกลงกับสมาคมประมงแห่งประเทศไทย สหกรณ์ประมงแม่กลอง และชมรมผู้ค้าปลาสมุทรสาคร รับซื้อขายปลาทรายแดง ปลาตาหวาน และปลาปากคม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา ผู้แทนสมาคมประมง ได้ขอให้สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งช่วยพิจารณาการรับซื้อปลาจวด และปลาหนวดฤษี *_ซึ่งนายกฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่าจะมีการพิจารหารือระหว่าง 2 สมาคมต่อไป_*
- กลุ่มปลาผิวน้ำ มีรายละเอียดการรับซื้อระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และสมาคมอวนล้อมจับ ในการรับซื้อสินค้าปลาผิวน้ำ คือทูน่า ซาร์ดีน แมคคอเรล อีกทั้งข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์เชิงลึก
_*กรมประมงและสมาคมที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดตั้ง “บอร์ดปลาอวนล้อมจับ” เพื่อหารือรายละเอียดราคา และความร่วมมือของสมาชิกโรงงานในกลุ่มเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาด้านราคาและรับซื้อวัตถุดิบในประเทศ กรณี โรงงานที่ไม่ได้ให้ความร่วมมือรับซื้อวัตถุดิบจากชาวประมง กรมประมงจะมีหนังสือไปยังสมาคมฯ เพื่อกำชับโรงงานกรมประมงจะมีการตรวจสอบปลานำเข้าให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และจะมีการติดตามข้อมูลพร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการทำงานระยะยาว*_
- กลุ่มหมึก เนื่องจากหมึกที่จับและจำหน่ายในประเทศ เป็นคนละสายพันธุ์ที่โรงงานผลิตและส่งออก อีกทั้งโรงงานหมึกในประเทศเป็นโรงงานที่รับจ้างผลิตให้กับลูกค้า ดังนั้นผู้รับซื้อหมึกในปัจจุบันจึงเป็นรายย่อย
_*กรมประมงจึงขอให้หอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพเชิญสมาคมผู้ค้าปลีกให้ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนกลไกราคาตลาดในประเทศ*_
• การดำเนินมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ
- กรมประมงเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการเฝ้าระวังตามด่านตรวจและแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำผิดกฎหมาย และขณะนี้ได้มีการดำเนินคดีต่อผู้ทำผิดจำนวน 240 คดี
- ปรับปรุงกฎหมาย “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 มาตรา 92...”เพื่อให้สามารถตรวจสอบและยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และมีเอกสารการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำทุกกระบวนการขั้นตอน ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ / ผู้นำเข้าสัตว์น้ำ ต้องแสดงเอกสารบัญชีรายละเอียดภาชนะ (Packing List) ในการขออนุญาตนำเข้า / ระบุสถานที่เก็บสินค้าในใบคำขออนุญาตให้นำเข้าสัตว์น้ำ (DOF
1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
- เตรียมการหารือทวิภาคี กับรัฐบาลพม่า สำหรับสินค้าสัตว์น้ำที่มีการนำเข้าทางบก ผู้นำเข้าต้องแสดงเอกสาร PMD (Product Movement Document) ประกอบการนำเข้าสัตว์น้ำ / การนำเข้าสินค้าทางน้ำ จะมีการขอรายชื่อเรือประมงของเมียนมา /หารือกระบวนการออก Catch Certificate และการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำของเมียนมา / กระบวนการควบคุมและติดตามเรือประมงและการทำประมงของเรือเมียนมา
• การหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ถึงแนวทางการใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้า (Safeguard Measure) ภายใต้ พรบ. ปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 นั้น ไม่ทันต่อสถานการณ์แก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ กรมประมงจึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศนำ พรบ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มาใช้แก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าประมง กระทรวงพาณิชย์ แจ้งยืนยันต่อกรมประมงว่าไม่สามารถใช้ พรบ. ฉบับนี้แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ หากนำมาใช้จะเป็นเรื่องของการกีดกันทางการค้า (NTB) _*ที่ประชุมจึงขอให้ทางกรมการค้าต่างประเทศ และกรมเจรจาการค้า พิจารณาเรื่องการใช้ระบบโควต้า โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประชุมหารือความเป็นไปได้ ในภาคเอกชน หอการค้าจะมีการเชิญสมาคมผู้ค้าปลีกค้าส่ง สมาคมภัตตาคาร จัดประชุมโดยนำร่องสำหรับสินค้าหมึก