การประชุมคณะกรรมการเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ครั้งที่ 1/2566

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ทางระบบการประชุม Google Meet

สมาคมฯ โดย คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา เป็นประธานการประชุม โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา วาระปี 2566-2567 โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการฯ ทั้งหมด 30 ท่าน

2. ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในปี 2566 ภายใต้ภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา อาทิ

- การให้การต้อนรับและหารือกับที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุนของสถานเอกอัครราชฑูตปากีสถาาน ประจำประเทศไทย

- การหารือร่วมกับเลขานุการเอกด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชฑูตอินเดีย ประจำประเทศไทย

- การให้การต้อนรับคุณ Sushil Kumar Dhanuka ประธานหอการค้าอินเดีย-ไทยและคณะ

- การให้การต้อนรับ Mr.Mohamed Siraj, President of Atoll Council สาธารณรัฐมัลดีฟส์และคณะ

- การให้การต้อนรับ Mr.Rohit Sharma, Head of Asean and Oceania สมาพันธ์อุตสาหกรรมประเทศอินเดียและคณะ

- การร่วมเป็นสักขีพยานการเปิดเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Comprehensive Economic Partnership Agreement : CEPA)

3. ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์การค้า การลงทุน และการเมืองระหว่างประเทศโดยรวมในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดย นาย เสก นพไธสง รองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งมีสถานการณ์ ดังนี้
เอเชียใต้

- เอเชียใต้ เป็นอนุภูมิภาคทางตอนใต้ของเอเชียซึ่งมีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ อัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา มีประชากรประมาณ 1.9 พันล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกทำให้เป็นทั้งภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก

- สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงจากแร่ อัญมณีเครื่องประดับ
เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์

- สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงจากแร่ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เกษตร (ผ้าฝ้าย ชา)

- ในภูมิภาคเอเชียใต้ ประเทศไทยมองอินเดียเป็นประตูการค้าสู่เอเชียใต้ โดยอินเดียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (BRICS) มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง (Dynamic Market) โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวและบริการ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งใน อินเดีย-ปากีสถานอยู่ รวมถึงสถานการณ์ของอัฟกานิสถานที่ยังคงไม่ดีนัก

- ในส่วนของประเทศไทยอาจส่งเสริมในเรื่อง Medical Tourism กับอินเดียได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจกับตลาดนี้
ตะวันออกกลาง

- เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากการผลิตสินค้ายังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งมาจากสภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก สภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ขาดแคลนแหล่งน้ำใต้ดินประกอบกับพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตรมีอยู่น้อยมาก ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะสินค้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งต้องมีการนำเข้าสูงถึงมากกว่าร้อยละ 70

- ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีความต้องการอาหารฮาลาลที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น จากกระแสรักสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ส่งผลให้แนวโน้มการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะสินค้าประเภท Functional และ Healthy Products กำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ และมีความต้องการอาหารฮาลาลที่เป็นอาหารแห้งและอาหารกระป๋องเป็นอย่างมาก

- อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในเรื่องของสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ อยู่ ซึ่งรัฐบาลไทยยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีแรงงานไทยจำนวนไม่น้อยที่อาศัยอยู่ที่อิสราเอล โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร
แอฟริกา

- ทวีปแอฟริกาประกอบด้วย 55 ประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย มีอาณาเขตติดกับทวีปเอเชียและทวีปยุโรป

- มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ได้แก่ น้้ามัน ก๊าซ แร่ สินแร่ ทองแดง และพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ส้ม มะพร้าว บราซิลนัตและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มะกอก และผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ โกโก้ กาแฟ ชา มาเต้ ฝ้าย วนิลลา

- สถานะล่าสุดในปี 2566 ทวีปแอฟริกาเผชิญปัญหาเงินเฟ้อประกอบกับราคาน้้ามันที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภค บริโภคและพลังงาน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะวิกฤติดังกล่าว ประเทศในแอฟริกาหลายรายยังมีความยืดหยุ่นมากเพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้ดีอย่างโตเนื่อง เช่น เคนยา ไอวอรี่โคท และคองโก

- ในด้านการค้า ส่วนใหญ่แอฟริกาด้าเนินการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรปและเอเชีย โดยในปี 2566 แอฟริกามีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียม ทองคำ ทองแดง แพลตินัม ถ่านหิน
เพชร และยานยนต์

- ประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกาได้ลงนามในข้อตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีภูมิภาคแอฟริกา (African Continental Free Trade Area: AfCFTA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาคโดยการลดภาษีนำเข้าและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจระหว่างกันเพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564

4. ที่ประชุมรับทราบการเชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "เร่งสปีดสู่ชัยชนะเปิดการค้าไทย-GCC" ซึ่งจัดโดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมการค้าผู้ส่งออกเอเชียและตะวันออกกลาง กำหนดจัดการสัมมนาในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง Activity Hall อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการเปิดตลาดการค้าในประเทศอาหรับ ท่านที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย


5. ที่ประชุมพิจารณาและเห็นด้วยกับแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ในปี 2566-2567 โดยมีกำหนดจัดการประชุมคณะกรรมการฯ ในไตรมาสที่ 2 และ 4 ของปี 2567 และมีภารกิจหลัก ได้แก่ การให้การต้อนรับผู้แทนภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ, การเข้าร่วมการประชุมกับรัฐและเอกชนในประเด็นปัญหาของภูมิภาค, การเข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานต่างๆ รวมถึงการจัดงานสัมมนาและกิจกรรม Workshop เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในภูมิภาค


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association