16 มิถุนายน 2565 คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการระดับประเทศ ครั้งที่ 3

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-13.00 น. คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการระดับประเทศ ครั้งที่ 3

โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมอมารี ประตูน้ำ 


สรุปสาระสำคัญดังนี้ 

โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Ship To Shore Rights South East Asia (SEA)) เป็นโครงการส่งเสริมการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานปกติ

และปลอดภัย ระหว่างประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอุตสาหกรรมประมงทะเล และแปรรูปอาหารทะเล โดยมีวัตถุประสงค์

1)ส่งเสริมประสิทธิภาพกรอบกฎหมาย นโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวกับ

การย้ายถิ่นเพื่อการทำงานและมาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2)คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย

และมั่งคงให้กับแรงงานข้ามชาติทั้งหมดตั้งแต่การจัดหางานจนถึงการสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน

3)ส่งเสริมแรงงานข้ามชาติ ครอบครัว องค์กร และชุมชน ให้เกิดพลังการคุ้มครอง ตนเองและเข้าใจถึงสิทธิของตนเอง


มีการรายงานผลการดำเนินการในแต่ละด้าน เช่น พัฒนาองค์ความรู้, เข้าร่วมอบรมให้ความรู้แก่พนักงานตรวจแรงงาน, สหวิชาชีพใน 22 จังหวัดชายฝั่ง, กิจกรรมของภาคประชาสังคม ทั้งจาก IOM และ UNDP รวมถึงการวิเคราะห์ผลประเมินจากโครงการ GLP ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนา GLP ต่อไป ทั้งนี้สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และเวียดนามที่สนใจในโครงการ GLP เพื่อนำไปพัฒนาด้านแรงงานในประเทศตนเอง 


ในช่วงการแถลงข่าว เปิดตัวรายงาน "การประเมินโครงการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย" นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดตัว

รายงานการประเมินโครงการฯ กับประธานร่วม Mr.Giuseppe BUSINI, Deputy Head of EU Delegation to Thailand

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) และสหภาพยุโรปที่ได้ให้การสนับสนุนการประเมินผลการดำเนินการโครงการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย (Good Labour Practices : GLP) โดยกระทรวงแรงงานได้ร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริม GLP ในกิจการประเภทต่าง ๆ รวม 4 ฉบับ ได้แก่ กิจการทั่วไป กิจการสัตว์ปีก กิจการฟาร์มเพาะกุ้ง และอุตสาหกรรมอาหารทะเล 

สำหรับ GLP สำหรับอุตสาหกรรมในอาหารทะเลได้รับการสนับสนุนจาก ILO ภายใต้โครงการ Ship to Shore Rights และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคธุรกิจ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย (T)(F)(F)(A) และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (T)(T)(I)(A) ซึ่งทั้ง 2 สมาคมและบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ได้นำมาใช้แต่ปี 2561 เป็นเวลา 4 ปี แล้ว ตอนนี้นับเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะมีการประเมิน เพื่อพัฒนาและต่อยอดการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเน้นในเรื่องแรงงานข้ามชาติ รวมถึงแรงงานหญิงในอุตสาหกรรมประมง ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ 


การเปิดตัวรายงานการประเมินผลการดำเนินการ GLP ในครั้งนี้ จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยยกระดับการนำไปใช้ของ GLP ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ให้มีความเข้มแข็ง โปร่งใสและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอดกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

การยกระดับความมุ่งมั่นต่อโครงการแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย (Seafood Good Labour Practices - GLP) เพื่อให้ประสบความสำเร็จในฐานะโครงการเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ

"GLP มีมาตรฐานการทำงานชัดเจน บริษัทต่างๆ มีการฝึกอบรมตามมาตรฐาน และมีข้อแนะนำในการนำไปปฏิบัติในระดับโรงงาน รวมทั้งพัฒนาแผนงาน มีการติดตามความเสี่ยงต่อแรงงาน และข้อเสนอแนะตามแนวปฏิบัติที่ดี โดยเป็นการเข้าร่วมอย่างสมัครใจ เพื่อสร้างมาตรฐานปกป้องแรงงาน สร้างแรงผลักให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือแรงงานข้ามชาติ เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน สร้างความแข็งแกร่ง ตอบสนองความต้องการโดยเฉพาะสตรี นำแนวนโยบายที่มีความอ่อนไหว สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนกับทุกภาคส่วน สร้าง GLP ที่เป็นที่เชื่อถือแก่ผู้ซื้อ และสร้างโอกาสให้กับแรงงาน ที่อยู่ในโครงการ GLP ได้มีส่วนในการผลักดันอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง"


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association