8 กรกฎาคม 2565 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำประชาพิจารณ์แผนปฏิบัติการด้านการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายปีงบประมาณ พ.ศ 2566-2570

เรียน  สมาชิกสมาคม 


กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำประชาพิจารณ์แผนปฏิบัติการด้านการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายปีงบประมาณ พ.ศ 2566-2570

ณ ห้องประชุมสเปลโล่ อาคารแกรนด์ พาลาสโซ่ ชั้น 6 โรงแรมพาลาสโซ่ รัชดา กรุงเทพฯ 09.00-16.30 น. 


ความเป็นมา 

การจัดประชาพิจารณ์ “แผนปฏิบัติการด้านการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายปีงบประมาณ 2566-2570” เนื่องจากไทยได้รับอนุสัญญา 182 เมื่อปี 2544 ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันที เพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก 

C182 – Worst Forms of Child Labour Convention, 1999 (No. 182)

การใช้แรงงานเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ในรูปแบบที่เลวร้ายมี 4 ประเภทคือ 

1)การใช้แรงงานทาส

2) การใช้ จัดหา หรือเสนอเด็กเพื่อการค้าประเวณี หรือการผลิตสื่อลามก 

3)การใช้ จัดหา หรือเสนอเด็กเพื่อกิจกรรมผิดศีลธรรม เช่น ค้ายาเสพติด

4)งานอันตรายต่อสุขภาพ 

ซึ่ง 1)- 3) ต้องขจัดให้หมดไป ส่วน 4) ต้องมีการจัดทำประเภทของงานอันตรายสำหรับเด็ก 


📍วัตถุประสงค์ 

เพื่อ ขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายทุกรูปแบบ

สร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

ส่งเสริมความร่วมมือทุกระดับในการดำเนินการป้องกันขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

บูรณาการทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน CSOs องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

ติดตาม ประเมินผล แผนปฏิบัติฯ โดยยึดหลักสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม 


🔖เป้าหมาย 

ประเทศไทยปลอดจากการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายภายในปี 2570

แผนปฏิบัติได้ย่อยเป็น 5 เรื่อง คือ 

1)การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายทุกรูปแบบและการสื่อสารสาธารณะ

2)การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

3)การช่วยเหลือ คุ้มครอง บำบัดฟื้นฟู เยียวยาเด็กที่เป็นผู้เสียหายจากการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

4)พัฒนาระบบกลไกบูรณาการความร่วมมือดำเนินงานป้องกันและขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

5)พัฒนาระบบบริหารจัดการการติดตามและประเมินผล การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 

ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อคิดเลยให้เพิ่มหน่วยงาน อาชีว ในส่วนการศึกษา/ หน่วยงาน กทม ซึ่งมี 50 เขต และมีการประสานและดูแลส่วนชุมชน/กต (คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม) ซึ่งมีจนท ดูแลด้านเด็ก เยาวชน 

เพิ่มการดูแลเรื่องการค้าประเวณี การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ

พัฒนาด้านมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในกระบวนการพิจารณาด้านกฎหมาย ร่วมถึงหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้

ยกเลิก ข้อกำหนดกท ศึกษาฯ ที่เด็กจะเข้าเรียน รร รัฐ ในพื้นที่ได้ ต้องมีทะเบียนบ้านในพื้นที่เขตนั้น ยกตัวอย่างเช่น คนงานก่อสร้างย้ายพื้นที่ทำงานบ่อย จึงยากในการปฏิบัติ


📌📌ทั้งนี้ หน่วยงานหรือบุคคลใดจะให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถเพิ่มเติมได้ใน links ภายใน 20 กค 2565  และจะสรุปรวบรวม(ร่าง)เข้าที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อส่งต่อให้สภาพัฒน์ฯ พิจารณา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทระดับชาติ  และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

https://www.labour.go.th/index.php/64234-2566-2570

https://forms.gle/X88nKtqtr6KgaDmx6


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association