การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาสารปนเปื้อนครั้งที่ 46-2/2566

การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาสารปนเปื้อนครั้งที่ 46-2/2566 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่านระบบ Zoom Meeting นารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ. สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. การทบทวน Codex Standards for contaminants

- เห็นชอบในการทบทวนมาตรฐานสารปนเปื้อนที่ได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยมีการจัดทำ Overall Highest Priority List (OHPL) สำหรับการทบทวนมาตรฐานของสารปนเปื้อนที่ได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยได้มีการตั้งคณะทำงานที่มีแคนาดาเป็นประธาน

- การจัดทำ tracking list คือ

1) มาตรฐานที่ประกาศมาแล้ว มากกว่า 15ปีและมากกว่า 25 ปี และมาตรฐานที่มีข้อเสนอจาก CCCF,CAC หรือประเทศสมาชิกให้ประเมินใหม่

2) มีรูปแบบการทำงานเฉพาะกิจที่มีการเสนอชื่อของประเทศสมาชิก และ/หรือ CCCF ซึ่งต้องมีข้อมูลใหม่หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ โดยมีระยะเวลาทดลองใช้ 3 ปี และจัดตั้ง in-session WG ที่มีแคนาดาเป็นประธาน
ที่ประชุม

(1) สำหรับประเด็นของไทย ที่มีความกังวลคือสินค้าข้าวขาว ข้าวกล้อง จากการประชุม CAC45 มีการรับรองมาตรฐานในขั้นตอนที่ 8 สำหรับสารอะฟลาทอกซินสำหรับ cereal ซึ่งกำหนดค่า ML สูงมาก ซึ่งหลายประเทศไม่เห็นด้วย แต่เมื่อมีผลรับรองแล้ว ทุกประเทศก็ยอมรับ และรอระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้แต่ละประเทศส่งข้อมูล และนำกลับมาพิจารณาใหม่ ในการกำหนดค่า ML บนพื้นฐานข้อมูลใหม่

(2) การจัดลำดับ OHPL ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเรื่องความปลอดภัยอาหารจะให้เป็นความสำคัญสูง สำหรับเรื่องการค้า (trade disruption) ให้ความสำคัญปานกลาง ซึ่งสำหรับไทยมองว่าควรให้ความสำคัญสูง เพราะการกำหนดค่า ML ก็เป็นการกำหนดจากประเด็นเรื่องการค้าเช่นกัน

(3) นอกจากนี้ไทยอาจต้องเตรียมข้อมูลไว้ สำหรับ OHPL ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารทะเล คือ ML แคดเมียมในหมึก, ค่า ML เมอร์คิวรี่ในทูน่า

2. Future Work of CCCF การพิจารณาการจัดทำแผนการดำเนินงานล่วงหน้า โดยการระบุสารปนเปื้อนที่มีผลทางสุขภาพและข้อกังวลทางการค้าในอาหารกลักที่มีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะพิจารณาจากเป็นขั้นตอนดังนี้ list of interest, การศึกษาหาข้อมูล ,การจัดทำ discussion paper, การตัดสินใจให้เป็นงานใหม่ของสารตัวนั้น และการจัดทำมาตรฐานใหม่ของสารดังกล่าว ทั้งนี้ต้องขอเวียนเอกสาร
ขอความคิดเห็นของประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศสมาชิกมีตอบกลับมามีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงขอให้ที่ประชุมพิจารณาทางเลือก 4 ทางเลือกคือ ดำเนินการต่อไปเหมือนเดิมหรือปรับเปลี่ยนวิธีการ, หรือเลื่อนงานนี้ไปก่อน, หรือยุติงานนี้ไปก่อน

ที่ประชุมเสนอให้เลื่อน หรือยุติงานนี้ไปก่อน เนื่องจากมีหลายคณะทำแล้ว และยังมีหลายเรื่องที่ยังค้างอยู่จำนวนมาก

3. การพิจารณาสาร Pyrrolizidine alkaloids

ซึ่งทางสหภาพยุโรปมีระเบียบของสมุนไพร เครื่องเทศบางตัวที่มีการกำหนดมาตรฐานสารตัวนี้กำหนดไว้ในกฎหมายไว้ เช่น ในชา ซึ่ง JECFA มีการประเมินความปลอดภัยแล้วในปี 2015 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดไว้ในมาตรฐาน Codex ซึ่งทางสหภาพยุโรปจะมีการนำเสนอข้อมูลในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเอกสารยังไม่มา


ที่ประชุม ในส่วนของ อย. สถาบันอาหาร ยังไม่เคยมีผลการตรวจสารตัวนี้ ซึ่งขอดูเอกสารจากสหภาพยุโรปในการประชุมก่อน เช่น เสนอทบทวน Code of Practice หรือมีข้อมูลใหม่ๆ จากการวิเคราะห์ของ JECFA ทางไทยเห็นด้วย แต่หากเป็นการกำหนดค่า ML วิธีการวิเคราะห์หรืออื่นๆ ยังไม่สามารถรับรองได้ เนื่องจากไทยยังไม่มีพื้นฐานข้อมูล

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association