IJM : International Justice Mission ได้นำเสนองานวิจัยที่ได้รับงบจากมูลนิธิวอลมาร์ท

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 IJM : International Justice Mission ได้นำเสนองานวิจัยที่ได้รับงบจากมูลนิธิวอลมาร์ท เรื่อง การประสานความร่วมมือเพื่อยุติการบังคุบใช้แรงงาน : การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ของแรงงานข้ามชาติ และการตอบสนองของระบบยุติธรรมต่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงานข้ามพรมแดนในประเทศไทย
โดยมีคุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ และคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ ผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมรับฟังการนำเสนองานวิจัย ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมีคุณพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานที่ประชุม
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
งานวิจัย โดยการศึกษาวิจัยประกอบด้วย
การศึกษาด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความเสี่ยงจากการถูกแสวงประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติ ขาวเมียนมาและกัมพูชาในประเทศไทย (พ.ศ. 2565) โดยศูนย์วิจัย National Opinion Research Center (NORC) แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งทำการสำรวจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการค้ามนุษย์และรูปแบบการแสวงประโยชน์ ในหมู่แรงงานข้ามชาติ รวมถึงการเข้าถึงความยุติธรรมของปัจเจกบุคคล
การศึกษาวิจัยความก้าวหน้า การปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมต่อการค้าแรงงานข้ามชาติและการประสานงานข้ามพรมแดนเรื่องการค้ามนุษย์ในประเทศไทย กัมพูชา และพม่า (พ.ศ. 2565) โดย กลุ่มวิจัยและการสื่อสาร (RCG) ซึ่งประเมินประสิทธิภาพของระบบยุติธรรมของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานข้ามพรมแดน
ผลการศึกษาที่คาดว่าจะได้รับ องค์การ IJM ได้ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบยุติธรรมและความแพร่หลายของแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมประมง งานบริการ ก่อสร้าง และการผลิต (โรงงาน) โดยขอเสนอแนะแนวทางดังต่อไปนี้สำหรับรัฐบาลไทยและหน่วยงานภาคธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจทั้งภายในและกับประเทศเหล่านี้ โดย IJM สนับสนุนการร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนและการบรรเทาความเสี่ยงต่อไป
ประโยชน์ที่ได้
ภาครัฐบาล
1. ขจัดอุปสรรคในกระบวนการทางกฎหมายต่างๆ ของไทย
2. สร้างภาระหน้าที่ทางกฎหมายให้กับตัวแทนจัดหาแรงงานและนายจ้างเพื่อรับรองความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน
3. nพัฒนาปรับปรงข้อตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแรงงานข้ามชาติ
4. เพิ่มความพยายามในการระบุรายกรณีแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างเป็นทางการให้มากขึ้น
ภาคธุรกิจ
1. มีระบบการสรรหาบุคคลที่รับผิดชอบ (Accountable Recruitment System) ต่อการกระทำของตนได้
2. จัดให้มีการเยียวยาในทุกช่วงขั้นตอน ตั้งแต่การจัดหาแรงงาน การจ้างงาน และช่วงหลังการเลิกจ้างงาน
3. สร้างแรงชักจูงต่อรัฐบาลในการเสร้างสร้างความเข้มแข็งและบังคับใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. รวมความคิดห็นและประสบการณ์ของแรงงานในการออกแบบโครงการต่างๆ เพื่อปกป้องแรงงาน
IJM เป็นองค์การยุติธรรมนานาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก่อตั้งปี 2543 เพื่อตอบสนองต่อการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับเพื่อลดปัญหาการแพร่กระจายดังกล่าวในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกรวมถึงเส้นทางแห่งการย้ายถิ่นฐานด้วยและรวมถึงการสร้างพันธมิตรในการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลผ่านสำนักงานโครงการที่ประสานงานกับในประเทศกัมพูชา ไทย เมียนมา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้กับแรงงานจากแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ทั่วทั้งภูมิภาค

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association