ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 79-2/2567 และ ครั้งที่ 80-3/2567

วันที่ 11-12 มีนาคม 2567 เวลา 09.30-15.00 น. ทางระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting

สมาคมฯ โดย นายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 79-2/2567 และ ครั้งที่ 80-3/2567 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. ที่ประชุมพิจารณาการจัดทำท่าทีสำหรับผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 9 โดยได้รับทราบจากการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างอินโดนีเซียและไทย ได้มีการเสนอให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on the application of the Codex General Standard for Food Additives (GSFA) to facilitate harmonisation of ASEAN Maximum Levels of Food Additives และได้รับความเห็นชอบจาก ACHPFS การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้จัดขึ้น เมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2566 จากข้อแนะนำที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่ประชุมได้เห็นชอบกับข้อคิดเห็นจากไทยที่ให้ตัดกลุ่มอาหาร 04.1.2.3 Fruit in vinegar, oil, or brine และ 12.6 Sauces and like products ออกจาก List 2 เนื่องจากขั้นตอนของการ alignment ระหว่างมาตรฐานสินค้าของ Codex และ GSFA ของกลุ่มอาหารนี้ยังไม่แล้วเสร็จและเห็นชอบต่อการรับค่า MLs ของวัตถุเจือปนอาหาร จำนวน 9 ตัว

2. List 1 ของค่า ASEAN MLs ของวัตถุเจือปนอาหารที่ปรับประสาน ที่ประชุมได้รับทราบข้อคิดเห็นของไทยเกี่ยวกับ List 1 ของค่า ASEAN MLs ของวัตถุเจือปนอาหารที่ปรับประสาน และเห็นชอบว่าการทบทวนและการปรับปรุง List 1 ให้สอดคล้องกับ Codex GSFA ฉบับปัจจุบันจะดำเนินการเมื่อขั้นตอนการ alignment กับ Codex GSFA ได้เสร็จสมบูรณ์แล้วในปี 2568 ทั้งนี้ อินโดนีเซียจะเริ่มการทบทวน List 1 ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป

3. ความคืบหน้าของค่า MLs ของโลหะหนักที่เสนอในระยะที่ 2 โดยที่ประชุม ได้รับทราบ ว่าขณะนี้อินโดนีเซียอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารสดและการทบทวนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสารปนเปื้อนในอาหาร และต้องมีการหารือในประเทศเพิ่มเติมสำหรับค่า MLs ในระยะที่ 2 และสิงคโปร์อยู่ระหว่างการทบทวนค่า MLs ของโลหะหนักในอาหารหลายชนิด รวมถึงค่า MLs ทั้งในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวมถึงข้อเสนอแนะของอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้เห็นชอบต่อการขยายกำหนดระยะเวลาสำหรับการปรับประสานค่า MLs ของโลหะหนักในระยะที่ 2 จนถึงปี 2568 และที่ประชุมได้เห็นชอบให้เริ่มการทำงานในระยะที่ 3 ภายหลังจากเสร็จสิ้นการท างานในระยะที่ 2 โดยเริ่มในปี 2568 และมีกำหนดระยะเวลาให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2569

4. การพิจารณารายละเอียดของ discussion paper สำหรับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาหารสำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร ที่ประชุมได้รับทราบว่าได้เวียนร่าง ASEAN Guidelines on Specific Measures for Plastic Materials and Articles Intended to Come into Contact with Foodstuffs (ฉบับที่ 1) ให้แก่ประเทศสมาชิกและได้รับข้อคิดเห็นจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย เมื่อพิจารณาข้อคิดเห็นดังกล่าว ไทยได้ปรับปรุงและเวียนร่างเอกสาร (ฉบับที่ 2) เพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบข้อกังวลจากอินโดนีเซียเกี่ยวกับวิธีการที่สหภาพยุโรปใช้กำกับดูแลกฎระเบียบเกี่ยวกับพลาสติกความสามารถของการทดสอบทางห้องปฏิบัติการของประเทศสมาชิก เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด รวมทั้งข้อกังวลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับวัสดุสัมผัสอาหาร ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ไทยพิจารณาการจัดกิจกรรมการสร้างขีดความสามารถในเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความเข้าใจต่อข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับรายการของสารที่ได้รับอนุญาต (positive list) ใน Commission Regulation (EU) No 10/2011 รวมทั้งความสามารถของการทดสอบห้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยที่ประชุมได้รับทราบว่าประเทศไทยจะหารือภายในและจัดทำร่าง Concept Note ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อให้ ACHPFS ทบทวนและพิจารณา ภายในวันที่ 31 มกราคม 2567

5. ที่ประชุมพิจารณาฉลากโภชนาการ (การอภิปรายเกี่ยวกับการจัดท าค่า NRV-Rs ในระยะที่ 1, 2, 3 และ conversion factors ในระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จ กำหนดการและร่าง concept note สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Tolerance and Compliance Level) ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Workshop on Harmonisation of Nutrient Reference Values for Vitamins and Minerals (NRVs-R) & Conversion Factors ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 และได้อภิปรายข้อแนะนำที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

1) ประเทศสมาชิกที่อยู่ระหว่างการทบทวนค่า NRVs-R ปัจจุบัน เพื่อปรับประสานกับ Codex NRV ให้แจ้งผลการดำเนินการภายในการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 10

2) การประชุมเชิงปฏิบัติการได้เน้นถึงการตัดสินใจของการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 7 ว่าเอกสาร Guidelines ที่จัดทำโดย ACHPFS/PFPWG จะเป็นเอกสารภาคสมัครใจ จนกว่าจะมี legally binding agreement
ระหว่างประเทศสมาชิกในการทำให้ Guidelines ดังกล่าวกลายเป็นเอกสารภาคบังคับ ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการจึงได้เห็นชอบให้พิจารณาการรับค่า Codex NRVs-R เพื่อเป็นค่า NRVs-R ที่ปรับประสานสำหรับ ASEAN Guidelines on Nutrition Labelling

3) การประชุมเชิงปฏิบัติการได้เสนอให้มีการรับรองจากการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 9 ในการทำงานเกี่ยวกับ NRVs-R และ conversion factors ในระยะที่ 2


ทั้งนี้ มาเลเซียได้จัดทำเอกสารในการรวบรวมข้อมูลและ feedback จากประเทศสมาชิกเกี่ยวกับผลที่ได้จากการหารือภายในของประเทศเกี่ยวกับค่า NRV-Rs และ NRVs-NCD เพื่อใช้อำนวยความสะดวกสำหรับการอภิปรายในการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 9 ต่อไป


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association