27 มิถุนายน 2565 สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม “การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และอาหาร และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน”

🗓เมื่อวันที่ 27 มิย 2565 ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมฯ และคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุม “การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และอาหาร และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน” ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ ชั้น 3 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ทำเนียบรัฐบาล 

ประธานที่ประชุมพลเอก สุพจน์  มาลานิยม  เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่า 

จากสถานการณ์เศรษฐกิจหลังการระบาดโควิด-19 ที่กำลังจะฟื้นตัว แต่มีประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน อีก ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจ พลังงาน ปุ๋ย สารเคมี อาหาร ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะยาวนานแค่ไหน ยุติเมื่อไร และฝ่ายใดจะชนะ และจะจบในลักษณะใด ซึ่งในวันนี้จะมีหน่วยงานกระทรวงการต่างประเทศ (กรมยุโรป) และสภาพัฒน์ สรุปประเด็นและสถานการณ์ 

และเมื่อได้ข้อเสนอในวันนี้ ฝ่ายเลขาฯ จะนำสรุปและเสนอในที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565  และนำบทสรุปเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป 


📌📌สรุปสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

1. สถานการณ์ล่าสุด ในสู้รบในยูเครนอยู่ในระยะที่ 2 ตั้งแต่กลางเดือนเมย. 2565 โดยรัสเซียโจมตีแบบจำกัดพื้นที่ในภาคตะวันออก (ดอนบัส แค้นโดเนตสค์และลูฮันสค์ เมืองคาร์คิฟ) เน้นระยะที่ลำเลียงพลได้สั้น มีอาคารหลบซ่อนยูเครน ในขณะที่ในระยะที่ 1 รัสเซียจะโจมตีในรูปแบบกว้างทั่วประเทศยูเครน

ในส่วนยูเครนได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธ เงินทุน เพิ่มเติมจากประเทศตะวันตก ทำให้ต้านรัสเซียได้ยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้

2. การดำเนินการทางการทูต 

▶️รัสเซีย เสนอ ยูเครนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ยูเครนต้องมีสถานะเป็นกลาง, ยูเครนต้องรับรองว่า

คาบสมุทรโครเมียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และยูเครนต้องรับรองแคว้นโดเนตสค์ และลูฮันสค์ทางตะวันออกของยูเครนเป็นรัฐอิสระ

▶️ยูเครน เสนอหลักประกันความมั่นคงระหว่างประเทศหากยูเครนยอมรับสถานะเป็นกลาง โดยให้มี

ประเทศผู้ค้ำประกัน เช่น ประเทศสมาชิกถาวร UNSC เยอรมนี แคนาดา โปแลนด์ อิสราเอล และตุรกี, ไม่ยอมเสียดินแดนใดๆ ของยูเครนทั้งหมด และเรียกร้องให้รัสเซียยุติการสู้รบและถอนทหารออกจากดินแดนทั้งหมดของยูเครน

สรุป มีการดำเนินการทางการทูตหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลอย่างมีนัยสำคัญ

3. แนวโน้มสถานการณ์

▶️การสู้รบมีแนวโน้มยืดเยื้อ แต่ละฝ่ายไม่สามารถได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด

▶️ทั้ง 2 ฝ่ายพยายามใช้ความได้เปรียบจากสถานการณ์ในสนามรบ มาเป็นเครื่องมือต่อรองเงื่อนไขที่เป็น

ประโยชน์แก่ฝ่ายตนบนโต๊ะเจรจาทางการทูต ทำให้ไม่มีฝ่ายใดยอมยุติการรบ

▶️นักวิเคราะห์มองว่า สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอาจพยามเยื้อการสู้รบนี้ เพื่อตัดกำลังรัสเซียให้

อ่อนแอลง จนไม่สามารถเป็นภัยคุกคามในยุโรปได้อีก

4. ท่าทีประเทศไทย จะดำเนินนโยบายโดยยึดมั่นการเคารพในหลักการอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนและสนับสนุนให้ทุก

ฝ่ายเจรจาโดยสันติวิธี 


✏️✏️การประเมินสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจ  ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ได้รับผลกระทบทางอ้อม คือ 

❇️ปัญหาเงินเฟ้อ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ต้นทุนวัตถุดิบ

❇️การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ทั่วถึงและกระจายตัวในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย

และกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังคงไม่ฟื้นตัว เช่น กลุ่มลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระโดยเฉพาะในภาคบริการ 

❇️การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน SMEs และหนี้สินภาคครัวเรือน 

❇️การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและความเพียงพอของปริมาณปุ๋ยภายในประเทศ ที่อาจ

เป็นข้อจำกัดของการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตรในระยะต่อไป


🎯🎯ทั้งนี้ในส่วนสมาคมฯ ดร.ผณิศวร ได้นำเสนอ สมาคมฯ มีการส่งออกสินค้าหลัก 3 กลุ่ม คือกุ้ง ปลา 

และหมึก โดยมีสัดส่วนการส่งออก (60:25:15) โดยปลา หมึก เป็นสินค้าที่มีการบริโภคภายในประเทศมาก ส่วนกุ้งมีไม่มากนัก เมื่อดูตัวเลขส่งออกกุ้งเมื่อปี 2554 มูลค่า 107,000 ล้านบาท

กุ้งใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก และเมื่อผลผลิตภายในประเทศลดลง โดยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ผลผลิตกุ้งไทยมีถึง 7 แสนตันต่อปี ปัจจุบันมีผลผลิตปีละ 2.5-2.7 แสนตัน จึงทำให้มีการนำเข้ากุ้งมากขึ้น ซึ่งสินค้าของไทยที่ส่งออกไม่ใช่สินค้าพื้นฐานการบริโภคของคนไทย เพราะพื้นฐานเรามีมากเพียงพอ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบด้านการขาดแคลนอาหาร หากเราส่งออกมาก ดังนั้นหากเราไม่มีการจำกัดเรื่องการส่งออก เศรษฐกิจอาหารด้านการส่งออกเราสามารถเติบโตไปได้ สำหรับปัญหาในปัจจุบัน มาตรฐานยุโรปเป็นเรื่อง IUU ส่งผลให้เรือประมงไทยลดลงอย่างมาก ด้าน GMO พืช และเรื่อง AD ในสินค้ากุ้ง ซึ่งดำเนินการมานานกว่า 17 ปี ตั้งแต่มีโรงงานส่งออกกุ้ง 95 ราย ปัจจุบันเหลือประมาณ 10 ราย ในส่วนด้านแรงงาน ที่ปัจจุบันมีเรื่อง TIP Report ของกระทรวงการต่างประเทศ US ซึ่งจะประกาศในเดือน กรกฎาคม 2565 ว่าไทยจะอยู่ใน Tier 2.5 หรือ Tier 3 และถอดถอนรายสินค้าในสินค้ากุ้ง และปลาว่ามีการใช้แรงงานเด็ก/แรงงานบังคับ ของกระทรวงแรงงาน US ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางการเมือง


🎯🎯คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ ชี้แจงในส่วนด้านแรงงาน ซึ่งสมาคมฯ ได้ให้ความสำคัญ

ในด้านแรงงาน และผลักดันการทำ GLP ซึ่งเป็นเรื่องการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน โดยสมาชิกได้เข้าร่วมนอกจากนี้ยังร่วมกับ ILO และกระทรวงแรงงาน ซึ่งเราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และต้องการผลักดันให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ และขอเสริมในส่วนแรงงานในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการใช้แรงงานข้ามชาติ เช่น พม่าจำนวนมาก ซึ่งแรงงานจะเสียค่าใช้จ่ายเข้ามาทำงาน 2-3 หมื่นบาทต่อคน โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วจะอยู่ไม่นาน และย้ายงานไปทำงานที่อื่น หรือกลายเป็นเจ้าของกิจการตั้งเป็นร้านขายของ ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายมาดูแล ทำให้นายจ้างประสบปัญหาอย่างมาก 

นอกจากนี้ในส่วนสมาคมฯ อื่นๆ จะมีประเด็นเรื่องการบูรณาการข้อมูลของทุกหน่วยงาน เพื่อให้

สอดคล้องกัน และเป็น Big Data เพื่อนำไปวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมต่อไป และในประเด็นปัญหาด้านการขนส่ง การขึ้นราคาเช่น เรือขนส่งสินค้า ในปีที่ผ่านมา การอำนวยความสะดวกรวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขนส่งสินค้าทางรถ ทางรถไฟ เป็นต้น ซึ่งทุกประเด็น ฝ่ายเลขาฯ จะสรุปและรวบรวมเพื่อเข้าที่ประชุม สคช. ต่อไป

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association