ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าของไทยอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2566

วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30-12.45 น. ณ ห้องประชุมพะยูน กรมประมง และระบบการประชุม Zoom Online Meeting

สมาคมฯ โดย คุณตรีรัตน์ เชาวน์ทวี ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการกลุ่มผลิตภัณฑ์ปู พร้อมด้วยคุณธวัชชัย พูนช่วย ประธานคณะอนุกรรมการกลุ่มผลิตภัณฑ์ปู, คุณโอปอ ศรีผา อนุกรรมการฯ, คุณอธิยุตว์ หาญมนตรี อนุกรรมการฯ และนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าของไทยอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายอำนวย คงพรหม ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล เป็นประธานที่ประชุม ซึ่งมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. ที่ประชุมรับทราบผลการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์และระบบการติดตามเรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งสนับสนุนงบประมาณการวิจัยโดยหน่วยงาน Resources Legacy Funds (RLF) ดำเนินการวิจัยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะนี้การวิจัยอยู่ในระยะที่ 2 ของการวิจัย และมีการลงพื้นที่เพื่อทดสอบอุปกรณ์และระบบการติดตามเรือ รวมถึงการสอนชาวประมงเพื่อทดลองกรอกข้อมูลในระบบ e-logbook ที่ทางนักวิจัยจัดทำ

ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสนใจในการวิจัยดังกล่าวเป็นอย่างมากและมีความเห็นว่าระบบดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์กับชาวประมงเรือขนาดเล็กได้ในอนาคต จึงขอให้คณะนักวิจัยและสมาคมฯ หารือเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดการวิจัยให้ระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวนี้สามารถนำมาใช้ได้จริงในอนาคต

2. ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงการทำประมงปูม้าของไทยอย่างยั่งยืน โดยสมาคมฯ ได้ชี้แจงผลการประเมินจากหน่วยงาน Marine Resources Assessor Group (MRAG) และเวปไซต์ Fisheryprogress.org ซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับ A และพบว่า ภายใต้ตัวชี้วัด 28 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินดีขึ้นอย่างตอ่เนื่อง โดยเฉพาะประเด็น Stock Rebuilding, Harvest Strategies, Habitat Information, Habitat Outcome, Specific Objective และ FMP Monitor and Evaluation

นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ชี้แจงงานคงค้างที่จะขอการสนับสนุนข้อมูลจากกรมประมง สำหรับการประเมินความก้าวหน้าโครงการฯ ในเดือนธันวาคม 2566 ดังนี้

- การผลักดันการจัดทำ Harvest Control Rules (HCRs) สำหรับการประมงปูม้าในพื้นที่สุราษฎร์ธานี
- การประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนบริหารจัดการประมงปูม้า (BSC Fishery Management Plan) รอบ 6 เดือน โดยกรมประมง และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าของไทยอย่างยั่งยืน
- การผลักดันการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ Minimum Landing Size (MLS) ของปูม้า
- การจัดการประชุมร่วมกรมประมงและกรมทรัพยากรทางะเลและชายฝั่ง เพื่อจัดทำรายงานการบริหารจัดการระบบนิเวศสำหรับปูม้า
- การขอข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Catch Composition ประมงลอบปู เรือขนาดเล็กกว่า 10 ตันกรอส
- การขอข้อมูลเชิงปริมาณในเรื่องของการติดตามการทำการประมงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

และสมาคมฯ จะจัดทำหนังสือไปยังกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อขอข้อมูลอย่างเป็นทางการต่อไป

3. ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการการทำประมงปูม้า พ.ศ.2566-2570 รอบ 6 เดือน โดยกองวิจัยและพัฒนาประมงได้ชี้แจงว่าทางกองวิจัยฯ ได้มีการเวียนสอบถามหน่วยงานภายในกรมประมมงเพื่อติดตามผลการดำเนินงานภายใต้แผนดังกล่าวแล้ว พบว่า มีกิจกรรมภายใต้แผนฯ ทั้งหมด 51 กิจกรรม โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จแล้ว 4 กิจกรรม, กิจกรรมที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนฯ 21 กิจกรรม, กิจกรรมที่เริ่มดำเนินการ 15 กิจกรรม และกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 11 กิจกรรม
ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้ขอให้ทางกองวิจัยฯ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ โดยเพิ่มรายละเอียดในส่วนของกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วเสร็จและกิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ชัดเจน ซึ่งผลการดำเนินการนี้ สมาคมฯ จะนำไปแปลเพื่อจัดส่งให้กับผู้ประเมินในช่วงสิ้นปี 2566 นี้

4. ที่ประชุมพิจารณาการจัดทำร่างกฎควบคุมการประมง (Harvest Control Rules: HCRs) สำหรับการทำประมงปูม้า โดยเห็นชอบในเนื้อหาของร่างกฎควบคุมการประมงดังกล่าว และเสนอให้นำร่างกฎควบคุมการประมงต่อระดับบริหารของกรมประมงเพื่อสั่งการให้กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลและประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี รับไปดำเนินการต่อ เพื่อให้เกิดการประกาศใช้ร่างกฎควบคุมการประมงดังกล่าวในอนาคต


5. คุณตรีรัตน์เสนอที่ประชุมเพิ่มเติมว่า กิจกรรมภายใต้ FIP ปูม้าที่ยังคงค้างอยู่ คือ การทำ Observer on Board เรือประมงปูม้าในสุราษฎร์ธานี เพื่อยืนยันว่าการทำประมงปูม้าไม่มีการจับ ETP Species โดยกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเลรับจะไปจัดทำกรอบการดำเนินการในประเด็นนี้เพื่อเสนอสมาคมฯ ต่อไป


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association