เสวนา "ความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลของไทย”

เมื่อวันที่ 13 มีค. 2568 TFFA ได้ร่วมกับหน่วยงาน คือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมประมง กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย สมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ในการจัดเสวนา "ความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลของไทย” 13 มี.ค.68 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธ์ุทิพย์ ชั้น 4 (office) ประชาธิปก-รำไพพรรณี และผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้แทนสมาคมฯ คุณอนุชา นายกสมาคมฯ และคุณนารีรัตน์ รองผอ.สมาคมฯ เข้าร่วมงาน 


Highlight สาระสำคัญ ดังนี้


- ถอดบทเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ โดย คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (EU) และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 


1. EU ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานและเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับมิติทางการค้า

2. EU กำหนดกรอบกฎหมายครอบคลุมประเทศสมาชิกและคู่ค้าทางธุรกิจ อ้างอิงนิยามจาก ILO เช่น แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก โดยมีกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประเทศคู่ค้า ได้แก่ 


-Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD)


-กฎหมายห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานบังคับในตลาด EU 


(กฎหมายเหล่านี้กำหนดให้บริษัทต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิแรงงาน และห่วงโซ่อุปทานของตน)


แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย


-CSDDD ผ่านการรับรองเมื่อ มค.67 โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องออกกฎหมายภายในปี 2569 และจะบังคับใช้ปี 2570-2572 โดยกฎหมายจะให้คกก.ยุโรปและประเทศสมาชิกตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่ามีการใช้แรงงานบังคับหรือไม่ 


-EU สนับสนุนด้านวิชาการและโครงการต่างๆ เพื่อคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในไทย เช่น โครงการ Ship to Shore Rights


3. ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 

     1.ควรมีการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ รับอนุสัญญา C87/98 การจัดตั้งสหภาพแรงงาน 

     2.ยกเลิกค่าธรรมเนียมการสรรหางานที่แรงงานต้องจ่ายเอง

     3.ให้แรงงานข้ามชาติมีเสรีภาพในการเปลี่ยนนายจ้าง

     4.มีการดูแลเด็กให้แรงงาน สำหรับแรงงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเล

     5.มีการพัฒนาการตรวจสอบแรงงาน ทั้งในเรือประมงและโรงงานแปรรูปอาหารทะเล


4.ข้อสรุป 

     1.ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา มีการปฏิรูปกฎหมายแรงงานและการบริหารจัดการภาคประมงของไทย

     2.แม้จะมีความพยายามปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงาน แต่ยังมีหลายประเด็นที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข 

     3.การเปลี่ยนนโยบายอย่างเดียวไม่พอ ต้องเปลี่ยน "แนวคิด" ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย 

     4.นายจ้างควรใช้วิธีรักษาแรงงานโดยใช้หลักค่าจ้างและสภาพการทำงานที่ดีขึ้น 

     5.อุตสาหกรรมต้องพัฒนาสภาพการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย และเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ


- เสวนาสถานการณ์ด้านแรงงาน การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการดำเนินการในอนาคต 


สรุปภาพรวม ความคาดหวังการดำเนินการด้านแรงงานในอนาคต


1. ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวตามกฎหมายแรงงานและปฏิบัติตามและมาตรฐานสากลได้มากขึ้น 

2. มีสร้างความร่วมมือทำงานทุกภาค ทั้งภาครัฐ, เอกชน, สมาคม ทั้งห่วงโซ่อุปทาน, ประเทศ Partner, และองค์กรข้ามชาติ เช่น มีการจัดประชุมหารือ หรือจัดเวทีเสวนามากขึ้น 

3. ภาครัฐเป็นแกนนำสำคัญ สนับสนุนการทำงานร่วมกันในประเด็นด้านแรงงานของไทย

4. ภาครัฐมีการปรับปรุงการนำเข้าแรงงานให้ง่ายขึ้นลดความซับซ้อนและทำให้ค่าใช้จ่ายการสรรหาแรงงานข้ามชาติมีความชัดเจนมากขึ้น และแก้ปัญหาการคอรัปชั่น

5. มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินการด้านแรงงานของภาครัฐและเอกชนถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะ EU/US


- เสวนาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่สำคัญในการแก้ไขการละเมิดสิทธิแรงงานและแรงงานบังคับ

ในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล

สรุปแนวทางดำเนินการในอนาคต


1. ควรมีการ จัดเวทีเสวนาเฉพาะกลุ่ม (Working Group) ระหว่างภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันศึกษา และสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาทางออก รวมถึงนำไปหารือกับ US EU ได้

2. การทำเอกสารของแรงงานข้ามชาติมีความซับซ้อน และอาจเกี่ยวพันกับคอรรัปชั่น ควรต้องทำให้โปร่งใสมากขึ้น 

3. เพิ่มความร่วมมือและ ปรับปรุงการสื่อสาร ระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้องมีข้อมูลชุดเดียวกัน



Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association