08/09/65 ระชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 61

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 15.30-18.00 น. ทางระบบ Zoom Online Meeting

สมาคมฯ โดย นายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 61-10/2565 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 60-9/2565 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565

2. เรื่องเพื่อพิจารณา สำหรับการจัดทำท่าทีผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 6 มีประเด็น ดังนี้

2.1 การพิจารณา List 2 ของค่า MLs ของวัตถุเจือปนอาหาร ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการจัดทำข้อคิดเห็นของประเทศไทยที่มีต่อการปรับมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งเบื้องต้น ทาง อย. เสนอให้เห็นชอบในหลักการกับการปรับประสานค่า MLs ของวัตถุเจือปนอาหารทุกค่าใน Table 3 ของ CODEX STAN 192-1995

2.2 ผลการพิจารณาของอินโดนีเซียต่อข้อเสนอของประเทศไทยเกี่ยวกับการทบทวนค่า ASEAN MLs ของวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งข้อเสนอจากไทย คือ ให้เป็นไปตามหลักการสำหรับการจัดทำข้อกำหนดสำหรับวัตถุเจือปนอาหารตามเอกสารของอาเซียน (ASEAN Principles and Guidelines for the Establishment of Maximum Use Level for Food Additives) โดยพิจารณา Codex General Standard for Food Additives - CODEX STAN 192-1995 (GSFA) และ Codex Commodity Standard ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ทั้งนี้ อินโดนีเซียแจ้งว่าจะอภิปรายเพิ่มเติมในการประชุม ACHPFS

2.3 การแจ้งความคืบหน้า/สถานะของผลการหารือในประเทศสำหรับค่า MLs ของโลหะหนัก ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายและเห็นควรให้รวมค่า MLs สำหรับแคดเมียมในน้ำแร่ธรรมชาติ (0.003 mg/l) และตะกั่วในน้ำแร่ธรรมชาติ (0.01 mg/l) ใน Annex II ของ ASEAN Standards for Contaminants and Toxins in Food and Feed นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้สอบถามไปยังกระทรวงสาธารณสุข

ในประเด็นนี้ โดยทราบว่า ปัจจุบันการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำแร่ธรรมชาติอยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะกรรมการพิจารณา และเห็นควรให้แจ้งสถานะเดิมสำหรับการปรับประสานค่าสารหนูในน้ำแร่ธรรมชาติให้สอดคล้องกับค่า ML ของ Codex ไปก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นควรจัดทำท่าทีนี้ตามที่ อย. เสนอ

2.4 การพิจารณารายละเอียดของ discussion paper สำหรับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาหารสำหรับวัสดุสัมผัสอาหาร ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในการรับรองข้อเสนอฉบับล่าสุด ซึ่งได้แก้ไขตามข้อคิดเห็นจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยแล้ว รวมถึงขอบคุณ ARISE Plus ที่ให้การสนับสนุนในการดำเนินงานนี้ และขอให้ดูท่าทีของสิงคโปร์และมาเลเซียที่จะเสนอในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง

2.5 การพิจารณา Revised ASEAN General Standard for Labelling of Prepackaged Foods (GSLPF) ร่วมกับข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบว่า การประชุม Codex สาขาฉลากอาหาร ประเทศไทยได้เห็นชอบกับ General Standard for the Labelling of Prepackaged Foods (CXS 1-1985) Revised in 2018 โดยไม่ได้มีการขอสงวนท่าทีต่อมาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงมีท่าทีไม่ขัดข้องกับร่างเอกสาร ASEAN General Standard for Labeling of Prepackaged Foods (GSLPF) ที่ได้ทบทวน เนื่องจากเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างมาตรฐานโดยรับ adoption ตาม Codex ทั้งหมด


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association